1 min read
เตรียมเฮ! วัคซีนโควิด คนไทยได้ฉีดแน่ เริ่มล็อตแรก 28 ก.พ. 64 นี้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 หลายประเทศทั่วโลกมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากข้อมูลวันที่ 21 ก.พ. 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเพิ่ม 368,344 คน และในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 92 คน เพิ่มขึ้น 3.4% จากสัปดาห์ก่อน
แม้สถานการณ์จะยังไม่ดีขึ้น แต่ก็มีข่าวดีเรื่องวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ออกมาให้ใจชื้นกันอย่างต่อเนื่อง เพราะวัคซีนที่ไทยได้ทำการสั่งซื้อไปจะมาถึงในวันที่ 24 ก.พ. 2564 คาดว่าคนไทยกลุ่มแรกจะได้ฉีดวัคซีนล็อตแรกนี้ในวันที่ 28 ก.พ. 2564 ซึ่งประชากรจากหลายประเทศทั่วโลกก็ได้ฉีดวัคซีนกันไปบ้างแล้ว ก่อนคนไทยจะได้ฉีดวัคซีน มาดูกันเลยว่าวัคซีนที่ผลิตออกมาจากบริษัทต่าง ๆ นั้นมีอะไร และเป็นอย่างไรบ้าง
การพัฒนาวัคซีนโควิดจากบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21 ก.พ. 2564 วัคซีนโควิดจำนวนกว่า 199 ล้านโดส ได้ฉีดให้กับประชากรจาก 87 ประเทศทั่วโลก ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร อินเดีย อิสราเอล บราซิล และประเทศอื่น ๆ ซึ่งวัคซีนที่ประชากรทั่วโลกได้ฉีดไปนั้น มาจากการคิดค้นของบริษัทชื่อดังหลายแห่ง เช่น
บริษัทอ็อกซ์ฟอร์ด–แอสตราเซเนกา (Oxford–Astrazeneca) และบริษัทบริษัทสปุตนิก วี (Sputnik V) วัคซีนจากทั้งสองบริษัทเป็นวัคซีนประเภท Viral-Vector ใช้ไวรัสที่อ่อนแอในการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน และการเก็บรักษาวัคซีนทั้งสองสามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิตู้เย็น ผลการทดสอบวัคซีนจากบริษัทอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และวัคซีนของบริษัทบริษัทสปุตนิก วี มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิดได้ถึง 92%
บริษัทไฟเซอร์–ไบออนเทค (Pfizer–BioNTech) และบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) เป็นวัคซีนประเภท mRNA ใช้รหัสพันธุกรรมของไวรัสมาฉีดให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต่างกันที่การเก็บรักษาของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ต้องเก็บที่อุณหภูมิ -70°C และบริษัทโมเดอร์นาต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -20°C ผลการทดสอบวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิดได้ถึง 90% และสำหรับบริษัทโมเดอร์นาสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ถึง 95%
บริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) และบริษัทซิโนแวค (Sinovac) วัคซีนจะใช้ไวรัสที่ทำให้ตายแล้วมาฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนจากทั้งสองบริษัทสามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิในตู้เย็น ผลการทดสอบวัคซีนจากบริษัทซิโนฟาร์มสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ 79% และวัคซีนจากบริษัทซิโนแวคสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ถึง 91%
สำหรับประเทศไทยนั้นประชาชนก็จะได้ฉีดวัคซีนล็อตแรกในวันที่ 28 ก.พ. 2564 นี้ ซึ่งวัคซีนล็อตนี้ก็มาจากการจัดซื้อจากบริษัทซิโนแวค ประเทศจีน จำนวน 2 ล้านโดส โดย 2 แสนโดสแรกจะมาถึงในวันที่ 24 ก.พ. ส่วนวัคซีนที่เหลือจะส่งมาภายในเดือน มี.ค. และเดือน เม.ย. จนครบจำนวน
ประชาชากลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน จะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคโควิด 19
แนวโน้มการผลิตวัคซีนโควิดในประเทศไทยกำลังเดินหน้า
เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่เราจะสามารถผลิตวัคซีนโควิดได้ภายในประเทศไทย เนื่องจากบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของไทยได้รับความร่วมมือจากบริษัทแอสตราเซเนกา ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน เพราะโรงงานของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ผ่านการรับรองมาตราฐานการผลิตระดับสากล และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนออกมาได้ 26 ล้านโดสในช่วงปลายเดือน พ.ค. หรือ เดือน มิ.ย.
มากไปกว่านั้นนักวิจัยไทยจากหลายองค์กรกำลังศึกษา และพัฒนาวัคซีนโควิดกันอย่างต่อเนื่อง ข่าวดีล่าสุดจากสภากาชาดไทย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัคซีน ChulaCov 19 คาดว่าจะเริ่มทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครระยะแรกในช่วงปลายเดือน เม.ย. นี้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) หากวัคซีนนี้ประสบความสำเร็จ ประเทศไทยก็จะมีวัคซีนผลิตใช้เป็นของตนเอง อาจไม่ต้องสั่งซื้อหรือนำเข้าจากต่างประเทศอีกต่อไป
วัคซีนโควิด ที่ใกล้ถึงมือเราเข้ามาทุกที เป็นสัญญาณที่ดีว่าเราทุกคนกำลังจะเข้าก้าวเข้าสู่ความสำเร็จที่รอคอยมานาน และเพื่อการหยุดยั้งเชื้อไวรัสให้อยู่หมัด ระหว่างนี้การรักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ยังจำเป็นอย่างมาก และควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเรา แต่เพื่อสังคม และเพื่อนมนุษย์ทั่วทั้งโลก ขอให้ทุกคนสู้ และก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน
ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก:
https://www.sanook.com/covid-19/
https://www.bbc.com/thai/thailand-56110586
https://www.bbc.com/thai/international-55019177
https://www.bbc.com/thai/thailand-55873467
https://www.bbc.com/thai/international-56060990
Credit ภาพ : https://pixabay.com
ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ?
บริการเขียนบทความ
คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ!
เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย
บทความ SEO
ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ
ติดต่อเราตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ!