Spread the love

1 min read

เทคนิคง่าย ๆ แบบบ้าน ๆ ที่จะทำให้คุณรับเขียนบทความได้แบบชิว ๆ

ธุรกิจในปัจจุบันที่ลงเข้ามาแข่งขันกันในตลาดออนไลน์ ทำให้อาชีพรับเขียนบทความเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าการเขียนบทความไม่ว่าจะสั้นหรือยาว เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจบนตลาดออนไลน์ เพื่อการดึงดูดความสนใจหรือสร้างแรงดึงดูดในการขายสินค้าและบริการให้มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้งานรับเขียนบทความขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นในวันนี้ สำหรับใครที่สนใจงานรับเขียนบทความ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ไม่เคยเขียนเลยแต่อยากเขียน เราขอแนะนำ เทคนิคบ้าน ๆ แบบง่าย ๆ ในการเขียนบทความให้โดนใจมาฝากกัน เผื่อได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแนวการเขียนของคุณ

เทคนิคการเขียนบทความคุณภาพ ให้น่าสนใจ

  1. กำหนดประเด็นงานเขียนก่อน การกำหนดประเด็นงานเขียนเปรียบเหมือนการวางทิศทางของงาน ทุกครั้งก่อนที่คุณจะรับงานเขียนบทความ และเริ่มต้นเขียนการกำหนดประเด็นตลอดจนจุดประสงค์ของงานเขียนก่อนจะทำให้คุณเลือกแนวการเขียนได้อย่างเหมาะสม ไม่หลงประเด็น และรู้สึกคล้อยตามในสิ่งที่เขียน
  2. สรุปจบสะกดใจ นอกจากการเขียนร้อยเรื่องราวอย่างดีแล้ว บทสรุปจบบทความที่เขียนได้ดึงดูดใจ ก็สามารถสร้างความรู้สึกดี ๆ ได้เช่นกัน บทความที่สร้างแรงดึงดูดในบทสรุปส่งผลต่อทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจและสร้างความอยากติดตามงานเขียนของคุณในอนาคตได้
  3. เล่าเรื่องอย่างมีจุดพีค หรือจุดพลิกผันของเรื่อง จุดนี้คือการดึงอารมณ์ของผู้อ่านที่ประสบปัญหาเดียวกันให้มีส่วนร่วมในบทความ และร่วมตัดสินใจว่าตนเองควรทำเช่นไร จะทำตามที่ผู้เขียนแนะนำไว้ไหมหรือสร้างแนวทางใหม่ที่อาจจะดีกว่าให้กับตนเองหลังได้อ่านบทความนั้น ๆ

สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างจุดพีค คุณควรระวังไม่ให้เกิดความสับสนระหว่างการสร้างจุดพีคกับบทสรุปของเรื่องราว เพราะจุดพีคไม่สามารถบอกได้ว่าผู้อ่านจะเจออะไรในอนาคต เพียงแค่ชี้ว่าผู้เขียนได้ผ่านอะไรมา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จุดนี้นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญสามารถสร้างแรงใจให้ผู้อ่านได้ รวมถึงสร้างการตัดสินใจบางอย่างได้ด้วย

หลัก 5W + 1H ยังคงใช้ได้เสมอ กับการเขียนบทความออกมาให้น่าสนใจ

การเขียนบทความให้น่าสนใจและโดนใจนั้น บทความจำเป็นต้องสื่อสารออกมาให้ครบถ้วน เพื่อสร้างจินตนาการตามเรื่องราวที่นำเสนอ การใช้หลัก  5W+1H  คือ

  • Who (ใคร)
  • What (ทำอะไร)
  • When (เมื่อไหร่)
  • Where (ที่ไหน)
  • Why (ทำไม) และ
  • How (อย่างไร)

สรุป

ร้อยเรื่องราวตามหลักการนี้ จะทำให้การเล่าเรื่องได้ง่ายขึ้นซึ่งเหมาะมากกับผู้ที่เริ่มต้นงานรับเขียนบทความเป็นอย่างยิ่ง เทคนิคที่กล่าวมาเบื้องต้นเป็นเพียงพื้นฐานของการเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ และสำหรับผู้ที่สนใจกระโดดลงมาลุยงานรับเขียนบทความแล้ว หวังว่าบทความนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบทความดี ๆ ให้กับผู้อ่านกันต่อไป

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ


Spread the love