Spread the love

1 min read

ของใหม่มาแล้ว กองทุนรวมเพื่อการออม SSF ทางเลือกในการลดหย่อนภาษีแทน LTF

เราต่างทราบกันดีว่าการเสียภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของคนไทยทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับความจริงอีกว่า การต้องเสียภาษีปีหนึ่งเป็นเงินก้อนโต ไม่ใช่เรื่องที่จะทำใจกันได้ง่าย ๆ เลย สิทธิในการลดหย่อนภาษีในรูปแบบต่าง ๆ จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้แบบถูกต้องตามกฎหมาย รัฐบาลเองก็ยินดีมอบให้และออกมาตรการลดหย่อนภาษีใหม่ ๆ ออกมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง อย่างกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF (Super Savings Fund) ที่เราตั้งใจนำมาแนะนำในครั้งนี้ จะแตกต่างจากกองทุนอย่าง LTF ที่เราเคยซื้อกันอย่างไร แล้วมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง มาทำความเข้าใจกันทีละประเด็นเลย

สิ้นสุดสิทธิลดหย่อนภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว LTF กำเนิดใหม่ในชื่อ กองทุน SSF

ไม่ใช่แค่ผลตอบแทนและความมั่งคั่งในระยะยาวเท่านั้น สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะช่วยจูงใจให้คนทั่วไปสนใจการลงทุนมากขึ้น และจะเป็นการสนับสนุนและช่วยผลักดันให้ตลาดทุนไทยเติบโตอย่างมั่นคง ลดความผันผวนของการซื้อขายโดยเฉพาะระยะสั้น ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพให้ตลาด ก่อนหน้าปี 2563 หนึ่งในกองทุนหลักที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คือ LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มุ่งเน้นลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสามัญของไทยเท่านั้น ซึ่งสามารถหักภาษีได้ถึงสิ้นปี 2562 ใครที่อยากซื้อกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ทางภาษีจะต้องเปลี่ยนมาซื้อกองทุน SSF แทน แน่นอนว่าสิทธิประโยชน์จะต้องดีกว่าเก่า

ความแตกต่างของกองทุน SSF vs LTF ของใหม่กับของเก่า แบบไหนดีกว่ากัน

ในเมื่อกองทุน SSF เป็นกองทุนแบบใหม่ ก็ย่อมจะต้องมีเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากเดิมให้สอดคล้องกับนโยบายการเงินของประเทศและสภาพเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น เราสามารถเปรียบเทียบเงื่อนไขของ SSF เทียบกับ LTF ได้ดังนี้

1.การนำเงินไปลงทุนของกองทุน

– SSF: ไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน สามารถนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท จะลงทุนในกองทุนรวมและตราสารหนี้ได้ทุกชนิด ทำให้คล่องตัวกว่าและมีตัวเลือกหลากหลายยิ่งขึ้น
– LTF: มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยจะเน้นลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสามัญภายในประเทศไทยเท่านั้น

2.เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี

– SSF: สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนประเภทอื่นแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
– LTF: สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และเมื่อคำนวณรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุประเภทอื่นแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

3.ระยะเวลาการถือครอง

– SSF: สามารถใช้หักภาษีได้ 5 ปี ตั้งแต่ 2563 – 2567 ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีก็ได้ จะขายหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อถือครองมาแล้ว 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
– LTF: สิ้นสุดเมื่อสิ้นปี 2562 เงื่อนไขในการขายหน่วยลงทุนคือต้องถือมาแล้วครบ 7 ปี

4.การจ่ายเงินปันผล

ทั้งกองทุน LTF และ SSF ต่างก็เป็นกองทุนที่มีประเภทปันผลทั้งคู่ โดยมีเงื่อนไขว่ากองทุนที่จะจ่ายปันผลได้ต้องมีกำไรสุทธิในรอบปีนั้น ๆ ก่อน

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสองกองทุน

เมื่อเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ว่าข้อดีของ SSF เมื่อเทียบกับ LTF คือความยืดหยุ่นของการลงทุนที่มีความหลากหลายกว่า ทำให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนมีตัวเลือกมากขึ้น ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อทุกปี แต่ก็มีข้อเสียคืออาจขายหน่วยลงทุนได้ช้ากว่าเพราะต้องถือนานถึง 10 ปี เพราะรัฐบาลต้องการสร้างความมั่นคงให้กับหลักทรัพย์ทั้งหลายภายในประเทศ เรายังสามารถซื้อกองทุน LTF ได้เช่นเคยและยังมีโอกาสเติบโตได้ แม้จะไม่มีสิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนแล้วก็ตาม สำหรับคนที่ถือ LTF อยู่แล้วก็รอขายคืนตามสิทธิได้เลย และจะไม่มีภาระภาษีจากการขายคืนเหมือนกองทุนอื่น ๆ นอกจากนี้เรายังสามารถโอนย้ายกองทุน SSF ข้ามบลจ. ได้ตามสะดวก

สรุป

โดยภาพรวม SSF มีเงื่อนไขไม่ต่างจาก LTF มากนัก เนื่องจากเป็นโครงการที่ทางภาครัฐตั้งใจให้มาแทนของเก่าที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่งจบไป สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางในการลดหย่อนภาษีมาแทนกองทุนหุ้นระยะยาว LTF ก็ให้เริ่มมองหากองทุนรวมเพื่อการออม SSF ที่น่าจะให้ผลตอบแทนดีกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้เลย ลองศึกษาและเปรียบเทียบกันหลาย ๆ ที่ จะได้มีตัวเลือกเก็บไว้ในใจ เพราะอนาคตไม่แน่นอน เรื่องการลงทุนและภาษีเป็นอะไรที่คนยุคใหม่ต้องรู้ สุดท้ายผลประโยชน์ก็ไม่ได้ตกอยู่กับใครที่ไหน แต่เป็นตัวเราล้วน ๆ

https://pixabay.com/

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ

นกเหยี่ยว

นามปากกา: นกเหยี่ยว (Falcon)

ความรู้คือปีกที่พาเราโบยบิน ความคิดคือท้องฟ้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด จบการศึกษาปริญญาโทด้านวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รักการเขียนและการศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ มีประสบการณ์การเขียนบทความกว่า 8 ปี เชี่ยวชาญในการเขียนบทความ SEO และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แรงบันดาลใจในการเขียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสังคมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

LINE OA: @writerid


Spread the love