Spread the love

1 min read

แก๊ง Call Center อาจหลอกคุณได้ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้

Call center

แม้ว่าคุณจะมีความรู้และตระหนักถึงการหลอกลวงของแก๊ง Call Center การตกเป็นเหยื่อยังคงเป็นไปได้ เนื่องจากมิจฉาชีพใช้กลยุทธ์และเทคนิคที่ซับซ้อนที่สามารถทำให้คุณเสียเปรียบได้ นี่คือเหตุผลทางจิตวิทยาที่ทำให้การหลอกลวงเหล่านี้ยังคงมีผล ดังนั้นคุณจะได้ยินข่าวบ่อยๆว่ามีคนโดนแก๊ง Call Center หลอก คุณเคยสงสัยไหมว่าข่าวเรื่องนี้ก็ออกบ่อยมาก พวกเค้าจะไม่รู้อีกหรอ แล้วโดนหลอกกันได้อย่างไร หรืออาจเป็นเพราะพวกเค้าไม่มีความรู้?

อัตราการตกเป็นเหยื่อแม้คุณมีความรู้

จากข้อมูลของ Federal Trade Commission (FTC): หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา มีข้อมูลเกี่ยวกับกลโกงรูปแบบต่างๆ รวมถึงแก๊ง Call Center พบว่าผู้คนทุกกลุ่มอายุสามารถตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงได้ แม้ว่าจะมีการตระหนักรู้และการให้ความรู้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนช่วงอายุ 18-59 ปี มีโอกาสรายงานการเสียเงินจากการหลอกลวงสูงกว่า 34% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป

กรณีศึกษามาดูว่าคุณจะทำอย่างไร

  • จินตนาการถึงการที่มีเจ้าหน้าที่โทรหาคุณ แล้วบอกว่าเค้าเป็นเจ้าหน้าให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads และที่สำคัญให้คำปรึกษาฟรีด้วย เพราะเป็นบริการที่จะต้องช่วยลูกค้าอยู่แล้ว เค้าก็ทราบรายละเอียดของคุณเป็นอย่างดี พร้อมบอกข้อมูลส่วนตัวของตัวหน้าที่อย่างครบถ้วน คุณได้คุยกับเค้าเล็กน้อยเพื่อให้เค้าแก้ไขปัญหา
  • ผ่านไป 1 เดือนเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads ก็สามารถตอบคำถามคุณได้ช่วยให้ข้อมูลคุณได้ตลอด แต่ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีคุณได้เพราะเป็นนโยบายความปลอดภัย ทำงานเวลาทำการ และเบอร์ที่โทรมาก็น่าเชื่อถือ และแนะนำตัวทุกครั้งที่โทรมา ส่งอีเมลยืนยันนัดตลอด ไม่เคยมีปัญหาอะไรแม้แต่น้อย และคุยปรึกษากันมาตลอด
  • ผ่านไป 6 เดือน เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads แจ้งคุณว่าบัญชีคุณมีปัญหา จะต้องแก้ไขทันทีในขณะที่คุณกำลังประชุมอยู่ เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads แจ้งว่าใช้เวลาไม่นาน เข้าทำการแก้ไขทันทีเพราะ AI ขึ้นบัญชีคุณเป็นตัวแดงแล้ว ผู้ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads ได้รับแจ้งเรื่องมาจากสำนักงานใหญ่เพื่อให้เข้าช่วยเหลือลูกค้าทันที โดยใช้เวลาไม่นานผู้ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads ทบทวนสิ่งที่เคยทำไปทั้งหมด
  • แต่ปัญหาคือเราเองกรอกข้อมูลผิดแต่แก้ไขไม่ยาก ปัญหาคือบัญชีกำลังก็โดนปิดและมีค่าปรับด้วย ต้องรีบแก้ไขและกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ให้เราช่วยทบทวนข้อมูลส่วนตัวใหม่ทั้งหมด พร้อมด้วยรายละเอียดเรื่องบัตรเครดิต แต่บัตรเครดิตบอกแค่ 4 ตัวท้ายพอเพราะเป็นความปลอดภัยของลูกค้า รวมถึงการยืนยันข้อมูลที่อยู่ บัตรประชาชน เพื่อให้ระบบไม่โดนปิด พร้อมยืนยันขั้นตอนสุดท้ายคือการแจ้ง SMS ให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads ทราบแค่นี้ก็เสร็จแล้ว ทั้งหมดใช้เวลา 5-10 นาทีเท่านั้น

คำถามคือ

1.คุณจะถามเค้าไหมว่าเค้าเป็นมิจฉาชีพไหมทั้งๆที่คุยกันมา 6 เดือนแล้ว?

หรือ

2. คุณจะบอกว่า ได้ครับผมจะแจ้งข้อมูลทั้งหมดให้?

เจ้าหน้าให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads มีอะไรของคุณแล้วบ้าง

  • ความเชื่อใจจากคุณ
  • ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เลขที่บัตรเครดิต 11 ตัวหน้าเพราะเค้าถามคุณตั้งแต่ 3 เดือนที่ผ่านมาแต่ขาดแค่ 4 ตัวท้าย
  • อื่นๆที่เค้าต้องการ
  • SMS ก็คือยืนยันการโอนเงินเพราะคุณเชื่อใจเค้าแล้ว

หลังจากนี้สิ่งที่คุณจะทราบคือ เจ้าหน้าให้คำปรึกษาในการโฆษณา Social Ads ที่คุยมา 6 เดือน เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่าแก๊ง Call Center

กรณีนี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นแสดงให้เห็นว่าแก๊ง Call Center ไม่ได้โทรมาแค่บอกให้โอนเงิน หากเป็นแบบนั้นใครจะโอนไปให้ถูกไหม


หากแก๊ง Call Center ใช้กลยุทธ์เหล่านี้

หากแก๊ง Call Center ใช้กลยุทธ์เหล่านี้คุณมั่นใจแค่ไหนว่าคุณสามารถรับมือได้ หากคุณตกอยู่เป็นเหยื่อของแก๊ง Call Center ในสถานการณ์จริง ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องการหลอกลวง การรับมือกับสถานการณ์ที่กดดัน และการมีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าคุณสามารถป้องกันตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน

การสร้างความกลัวและความเร่งด่วน

มิจฉาชีพมักใช้การสร้างความกลัว เช่น การแจ้งว่าเหยื่อมีปัญหาทางการเงินหรือกฎหมายที่ต้องแก้ไขทันที การสร้างความรู้สึกกดดันและความเร่งด่วนทำให้เหยื่อตัดสินใจโดยไม่ทันได้ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด

การใช้เทคนิค Social Engineering

มิจฉาชีพใช้เทคนิคการสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์กับเหยื่อ โดยการโทรศัพท์ติดต่อเป็นระยะๆ เพื่อให้เหยื่อรู้สึกว่าผู้โทรมีความจริงใจและต้องการช่วยเหลือ

การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมมา

มิจฉาชีพรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เหยื่อรู้สึกว่าผู้โทรรู้จักข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้การหลอกลวงดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

การเลียนแบบองค์กรจริง

การปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ให้ดูเหมือนมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคารหรือหน่วยงานราชการ ทำให้เหยื่อรู้สึกว่าต้องเชื่อฟังและทำตามคำแนะนำของผู้โทร

การตอบสนองทางอารมณ์

เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เช่น การรับสายโทรศัพท์ที่แจ้งปัญหาเร่งด่วน คนมักจะตอบสนองทางอารมณ์โดยไม่คิดหรือพิจารณาให้รอบคอบก่อน

คุณมั่นใจแค่ไหนว่าคุณรู้วิธีการเหล่านี้เป็นอย่างดีหากไม่แก๊ง Call Center อาจหลอกคุณได้


ตัวอย่างกลยุทธ์อื่นๆ ที่แก๊ง Call Center ใช้

  1. การเสนอโปรโมชั่นหรือข้อเสนอที่น่าสนใจ: มิจฉาชีพอาจเสนอโอกาสที่ดูน่าสนใจ เช่น การได้รับรางวัล การลดราคา หรือโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อดึงดูดความสนใจของเหยื่อและทำให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
  2. การใช้บุคคลที่มีอิทธิพล: บางครั้งมิจฉาชีพอาจอ้างว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีอิทธิพล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้เหยื่อเชื่อในการหลอกลวง
  3. การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือนักกฎหมาย: มิจฉาชีพอาจปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือนักกฎหมายเพื่อข่มขู่เหยื่อและสร้างความกลัวให้เหยื่อยอมทำตามคำสั่ง

ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า แก๊ง Call Center ได้พัฒนากลยุทธ์และเทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อหลอกลวงเหยื่อ การใช้การปลอมหมายเลขโทรศัพท์ (Spoofing) การโทรอัตโนมัติ (Robocalls) และการสร้างความไว้วางใจผ่านการใช้สคริปต์และการฝึกอบรมเป็นตัวอย่างของเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มิจฉาชีพมักใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความเร่งด่วนในการตอบสนองของเหยื่อ

นอกจากนี้ แก๊ง Call Center ยังใช้การสร้างความกลัวและความเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นให้เหยื่อตัดสินใจอย่างรวดเร็วโดยไม่ตรวจสอบข้อมูล พวกเขาเลียนแบบการทำงานขององค์กรจริงโดยการสร้างเว็บไซต์ปลอมและการใช้ Social Engineering เพื่อสร้างความไว้วางใจ การเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสถานการณ์ปัจจุบันทำให้มิจฉาชีพสามารถปรับตัวและยังคงสร้างความเสียหายต่อเหยื่อได้อย่างต่อเนื่อง

การป้องกันตนเองจากการหลอกลวงเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลและความระมัดระวังในการรับสายจากหมายเลขที่ไม่รู้จัก การใช้เทคโนโลยีในการบล็อกการโทรที่น่าสงสัยและการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางโทรศัพท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

  • Cialdini, R. B. (2001). Influence: Science and Practice. Boston: Allyn & Bacon.
  • Douglas, K. M., & McGarty, C. (2001). Identifiability and self-presentation: Computer-mediated communication and intergroup interaction. British Journal of Social Psychology, 40(3), 399-416.
  • Kahneman, D. (2011). Thinking, Fast and Slow. New York: Farrar, Straus and Giroux.
  • LeDoux, J. E. (1996). The Emotional Brain: The Mysterious Underpinnings of Emotional Life. New York: Simon & Schuster.
  • Milgram, S. (1974). Obedience to Authority: An Experimental View. New York: Harper & Row.
  • Tversky, A., & Kahneman, D. (1974). Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases. Science, 185(4157), 1124-1131.

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ

นกเหยี่ยว

นามปากกา: นกเหยี่ยว (Falcon)

ความรู้คือปีกที่พาเราโบยบิน ความคิดคือท้องฟ้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด จบการศึกษาปริญญาโทด้านวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รักการเขียนและการศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ มีประสบการณ์การเขียนบทความกว่า 8 ปี เชี่ยวชาญในการเขียนบทความ SEO และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แรงบันดาลใจในการเขียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสังคมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

LINE OA: @writerid


Spread the love