Spread the love

1 min read

ไอเดียเปลี่ยนบ้านเก่าเป็น Smart Home แบบไม่ต้องรื้อบ้านวางระบบให้ยุ่งยาก

Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นคำที่คุ้นหูหลายคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และสำหรับบางคน “บ้านอัจฉริยะ” คือบ้านในฝัน หากเล่าให้ฟังง่าย ๆ บ้านอัจฉริยะคือบ้านที่นำเอาเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้อำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน โดยเชื่อมผ่านตัวกลางคืออินเทอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IoT) อีกทั้งยังควบคุมการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้ด้วย เช่น การสั่งเปิด-ปิดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยคำสั่งเสียงหรือควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน การสั่งงานให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำงานในขณะที่ไม่อยู่บ้าน และการสั่งเปลี่ยนรหัสเข้าบ้านจากสมาร์ทโฟน เป็นต้น

โดยเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะเริ่มนำมาใช้ในโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ขึ้นไป ซึ่งในยุคก่อนมีความยุ่งยากในการติดตั้งและใช้งาน ทำให้บ้านแบบทั่วไปไม่นิยมนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ แต่สำหรับปัจจุบันที่เรามี IoT บ้านแบบเดิมก็สามารถอัปเกรดให้มีความสมาร์ทเหมือนบ้านโครงการใหญ่ ๆ ได้ โดยไอเดียการอัปเกรดบ้านมีดังต่อไปนี้

เตรียมบ้านสำหรับทำ Smart Home อย่างไร ต้องรื้อบ้านหรือไม่?

เริ่มต้นอัปเกรดบ้านให้กลายเป็น Smart Home ได้ง่าย ๆ ด้วยการสำรวจระบบอินเทอร์เน็ตภายในบ้านให้มีสัญญาณที่มีความเสถียรพอที่จะรองรับเทคโนโลยีที่จะนำเข้ามาติดตั้ง เพราะระบบบ้านอัจฉริยะจะทำงานผ่าน Hub หรือตัวรับ-ส่งสัญญาณ นั่นหมายความว่าภายในบ้านนอกจากจะต้องมี Wireless Router สำหรับกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตแล้ว จะต้องมี Hub สำหรับรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตและส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ด้วย ต่อไปนี้จะเป็นข้อควรรู้สำหรับการทำบ้านอัจฉริยะ

  • ไม่ต้องรื้อหรือทุบบ้าน จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการทำบ้าน Smart Home ไม่มีส่วนใดที่จะต้องทุบหรือรื้อบ้านเลย เพราะความสำคัญจะอยู่ที่ความเสถียรของระบบอินเทอร์เน็ตภายในบ้าน
  • เลือก Hub ค่ายไหนดี การเลือก Hub ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดในการใช้งานของแต่ละคน โดยปัจจุบันเรามี Hub จากค่ายดังหลายค่าย เช่น Samsung SmartThings, Google Nest, Android Brillo, Amazon Eco และ Apple HomeKit เป็นต้น โดย Hub แต่ละค่ายสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้หลากหลายและบางค่ายสามารถรับคำสั่งเป็นภาษาไทยได้
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อ การเลือกอุปกรณ์เชื่อมต่อมีความสอดคล้องกับ Hub ที่ใช้ หากอุปกรณ์ที่ซื้อมาไม่รองรับ Hub ค่ายนั้น ๆ ก็จะไม่สามารถสั่งงานควบคุมได้ ดังนั้นหากเลือกใช้ Hub ของค่ายใดจำเป็นจะต้องเลือกอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Hub ได้ด้วย เช่น เลือกซื้อหลอดไฟอัจฉริยะที่รองรับระบบ Nest ซึ่งเป็นของ Google จะต้องใช้ Hub ของค่าย Google Nest, Android Brillo หรือ Samsung SmartThings เพราะค่ายทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกันกับระบบ Android เป็นต้น


เริ่มต้นเลือก Smart Home Device อย่างไรให้มีความคุ้มค่า

เนื่องจากการทำบ้านอัจฉริยะจะต้องมีการเลือกซื้อ Smart Home Device หรืออุปกรณ์อัจฉริยะเข้าบ้าน ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีความคุ้มค่า เหมาะสม และมีความจำเป็น โดยอุปกรณ์อัจฉริยะจะมีทั้งแบบอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัย เช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ตู้เย็นอัจฉริยะ เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ เครื่องเสียงอัจฉริยะ ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ และระบบแจ้งเตือนยามน้ำรั่ว เป็นต้น โดยการทำงานของอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

  • ระบบกันขโมย กล้องวงจรปิดสำหรับ Smart Home มีการพัฒนาด้วยระบบ Motion & Shock Sensor ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในบ้าน และส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปที่สมาร์ทโฟน เพื่อให้ตรวจสอบดูกล้องวงจรปิด หรือติดต่อแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อการเข้ามาระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที
  • ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ ตัวช่วยอัจฉริยะที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการลืมปิดไฟ และยังช่วยดูแลความปลอดภัยได้ด้วย โดยระบบนี้ควรใช้กับบ้านที่มีการติดตั้งสายดิน หรือสายนิวตรอนเพื่อความปลอดภัย ตัวอุปกรณ์จะเป็นชุดปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟอัจฉริยะ ที่สามารถตั้งเวลาเปิด-ไฟได้จากแผงควบคุมภายในบ้านป้องกันการลืมปิดไฟ หรือจะเลือกเปิดไฟล่วงหน้าก่อนเข้าบ้านยามค่ำคืนผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนช่วยให้อุ่นใจยามกลับบ้าน
  • เครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ สามารถเลือกเปิดเครื่องปรับอากาศล่วงหน้าก่อนกลับเข้าบ้านได้ ด้วยการควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน อีกทั้งยังสามารถเลือกปรับอุณหภูมิภายในบ้านได้ด้วย
  • ระบบป้องกันน้ำรั่ว อุปกรณ์มีลักษณะเป็นตัว Sensor ขนาดเล็กสำหรับบ้านที่ฝังระบบท่อน้ำไว้บนฝ้าเพดาน หรือในกำแพง การใช้งานเพียงวางอุปกรณ์ไว้ในจุดที่มีท่อน้ำ ตัว Sensor จะตรวจจับความชื้นในบริเวณรอบ ๆ และในอากาศ หากพบความชื้นที่สูงเกินไปจะทำการแจ้งเตือนไปที่สมาร์ทโฟน เพื่อให้ตรวจสอบท่อน้ำบริเวณนั้น อีกทั้งยังสามารถวางไว้ตามขอบประตูหรือหน้าต่างบ้านได้ สำหรับการตรวจจับว่ามีน้ำฝนสาดเข้าบ้านหรือไม่ ช่วยป้องกันเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านเสียหาย และป้องกันการเกิดเชื้อรา

 

นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมีอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับ Smart Home อีกมากมายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับความจำเป็นในการใช้ชีวิต โดยอุปกรณ์เหล่านี้มีตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยหลักที่สำคัญ เพราะความสำคัญในการเลือกใช้อุปกรณ์คือการตรวจสอบว่าอุปกรณ์นั้น ๆ สามารถเชื่อมต่อกับเครื่อข่ายของ Hub ที่ใช้หรือไม่ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถออกแบบบ้านแสนสมาร์ทในราคาที่กำหนดได้เองแล้ว

Credit ภาพ : pixabay.com

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ

นกเหยี่ยว

นามปากกา: นกเหยี่ยว (Falcon)

ความรู้คือปีกที่พาเราโบยบิน ความคิดคือท้องฟ้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด จบการศึกษาปริญญาโทด้านวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย รักการเขียนและการศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ มีประสบการณ์การเขียนบทความกว่า 8 ปี เชี่ยวชาญในการเขียนบทความ SEO และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ แรงบันดาลใจในการเขียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสังคมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

LINE OA: @writerid


Spread the love