1 min read
อัปเดตกฎหมายต่อเติมบ้าน ทำอย่างไรถึงปลอดภัยต่อการใช้งาน และถูกกฎหมาย
เป็นธรรมดาที่บ้านพักอาศัยจะต้องมีการปรับปรุงต่อเติมบ้างในบางจุดของบ้าน แรก ๆ ที่ได้บ้านพักอาศัยมา ผู้อยู่อาศัยมักจะยังไม่คุ้นชินกับบ้าน จึงยังไม่รู้ว่าต้องมีการปรับปรุงหรือทำการต่อต่อเติมตรงไหนบ้าง ถึงจะลงตัวและตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งถ้ากล่าวถึงเรื่องการต่อเติมบ้าน เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงเรื่องการต่อเติมหลังบ้าน เพราะเป็นจุดที่จะทำให้บ้านดูมีพื้นที่ใช้สอยได้มากขึ้น
แต่การจะต่อเติมหลังบ้านไม่ว่าจะเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยเอง หรือเป็นการต่อเติมเพื่อเตรียมบ้านไว้ปล่อยเช่าในอนาคตก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของบ้านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ปลอดภัย เกิดพื้นที่ใช้สอยตามต้องการและต้องถูกกฎหมาย ครั้งนี้จึงจะมาอัปเดตเรื่องของกฎหมายการต่อเติมบ้านให้ทุกคนได้ทราบ รู้ไว้เวลาต่อเติมจะได้ทำได้อย่างปลอดภัยและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อกฎหมายที่ควรทราบก่อนลงมือต่อเติมบ้าน
สำหรับในประเทศไทยนั้นเรื่องของอาคารสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยต่าง ๆ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและคอยควบคุมในเรื่องนี้ไว้ก็คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร) กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้อยู่อาศัยต้องการที่จะต่อเติมบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมบริเวณหน้าบ้าน หรือต่อเติมหลังบ้านก็ตาม ก็ควรจะต้องเรียนรู้และศึกษาทำความเข้าใจข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมอาคารโดยเฉพาะ ซึ่งในที่นี้ก็คือ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งเป็น 2 มาตราที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการต่อเติมอาคารโดยตรง โดยขอสรุปใจความใน 2 มาตราดังกล่าวนี้ให้ทุกท่านได้ทราบอย่างกระชับ ดังนี้
มาตรา 21
เป็นมาตราที่มีใจความว่า หากผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยมีความประสงค์ที่จะทำการต่อเติม รื้อถอน เคลื่อนย้าย หรือดัดแปลงตัวบ้าน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหลักของบ้าน จะต้องทำการแจ้งไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นก่อนเสมอ จะสามารถลงมือทำได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานในท้องถิ่นได้เสร็จอนุมัติในหนังสือขออนุญาตแล้วเท่านั้น กรณีที่เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานให้รับทราบโดยตรง ไม่ได้มีการขอเป็นเอกสารใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามมาตรา 39 ทวิ
มาตรา 39 ทวิ
เป็นมาตราที่มีใจความว่าหากจะทำการต่อเติมอาคาร เมื่อไปแจ้งขออนุญาตในการดัดแปลงต่อเติมบ้าน หรือส่วนอื่น ๆ ของบ้านและอาคารกับเจ้าพนักงานโดยไม่ได้ขอเอกสารใบอนุญาต ให้เจ้าของบ้านทำการยื่นเอกสารแบบแปลน แผนผังรวมไปถึงชื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้รับผิดชอบการต่อเติมให้กับเจ้าพนักงานไว้เพื่อรับทราบด้วย
ต่อเติมบ้านอย่างไรถึงจะปลอดภัยมั่นใจได้
หลังจากที่ดำเนินการขออนุญาตตามระเบียบราชการเพื่อไม่ให้การต่อเติมขัดต่อกฎหมายแล้ว ก็สามารถที่จะเริ่มต้นการต่อเติมบ้านได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ เรื่องของความปลอดภัยและจะต่อเติมอย่างไรถึงจะปลอดภัย อยู่อาศัยได้อย่างมั่นใจ ซึ่งมีคำแนะนำดังนี้
1.ต่อเติมตามหลักทางกฎหมาย
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ได้มีการกำหนดเรื่องของระยะห่างระหว่างอาคารเอาไว้ในสำหรับกรณีการสร้างหรือต่อเติมอาคาร โดยมีกำหนดไว้ว่าหากเป็นบ้านชั้นเดียวไปจนถึงบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ถ้าจะมีการต่อเติมบ้าน ไม่ว่าจะหลังบ้าน ห้องครัว ห้องซักล้าง หากส่วนที่ต่อเติมขึ้นมานั้นมีหน้าต่าง ช่องลม ส่วนที่จะต่อเติมเพิ่มขึ้นมาจะต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงอย่างน้อย 2 เมตร หากว่าส่วนที่ต่อเติมเพิ่มขึ้นมานั้นไม่มีหน้าต่างเป็นผนังทึบ ก็ให้เว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียงอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ระยะตามที่กฎหมายกำหนดนี้ เป็นระยะที่มีการคำนวณแล้วว่าเหมาะสมและมีความปลอดภัยนั่นเอง
2.อย่าลืมสำรวจโครงสร้างตัวบ้านก่อนต่อเติม
ก่อนจะเริ่มลงมือต่อเติมส่วนต่าง ๆ แนะนำว่าเจ้าของบ้านควรให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเช็กสภาพโครงสร้างของบ้านและพื้นที่ดินโดยรอบก่อนว่ายังคงแข็งแรงอยู่หรือไม่ บ้านบางแห่งถูกสร้างบนพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปดินอาจมีการทรุดตัว หากมีการต่อเติมเพิ่มเข้าไปก็จะยิ่งทำให้ดินเกิดการทรุดตัวเพิ่มขึ้นได้ หากจะให้ดีแนะนำว่าให้ต่อเติมโดยใช้วิธีการแยกโครงสร้างส่วนที่จะต่อเติมออกมาจากโครงสร้างเดิมจะดีกว่า วิธีการนี้ได้รับความนิยมมาก และถือว่าเป็นวิธีการต่อเติมบ้านที่ปลอดภัย
หากคิดจะทำการต่อเติมบ้าน อย่าลืมที่จะศึกษาข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารระบุไว้ให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มลงมือ หากไม่มั่นใจต้องปรึกษาเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยให้การต่อเติมของคุณไร้ปัญหาที่จะตามมา ทั้งเรื่องข้อกฎหมายและความปลอดภัยนั่นเอง
Credit ภาพ : pixabay.com
ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ