Spread the love

1 min read

พ.ร.บ.คู่ชีวิต ก้าวแรกของความเท่าเทียมในสังคมไทย กฎหมายสมรสที่ LGBTQ+ รอคอย

พ.ร.บ.คู่ชีวิต ก้าวแรกของ

เมื่อไม่นานที่ผ่านมา กระแสข่าว ครม.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กลายเป็นแฮชแท็กประเด็นร้อนที่ผู้คนใน Twitter กล่าวถึงกันมากในประเด็นต่าง ๆ นา ๆ ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่กลุ่ม LGBTQ+ เจอมาโดยตลอด กำลังจะเปลี่ยนไปในยุคสมัยที่สังคมไทยและโลกเปิดกว้าง การจดทะเบียนสมรสอย่างไร้ขอบเขต เรื่องเพศกำลังจะถูกผลักดันให้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นกับปุถุชนธรรมดาของสังคมคนหนึ่ง เพราะเอาเข้าจริง “เพศ” ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ดังนั้น “เพศ” จึงไม่ควรกลายเป็นสิ่งที่ทำให้คุณค่าของมนุษย์คนหนึ่งถูกลดทอนให้น้อยลง เพียงเพราะรสนิยมความชอบในแบบที่ตัวเองเป็น

นิยามของ LGBTQ+ กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ

ก่อนจะไปทำความเข้าใจถึงสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เพิ่งคลอดสด ๆ ร้อน ๆ และเป็นประเด็นร้อนอยู่ในขณะนี้ เรามาทำความรู้จักกลุ่มคนกลุ่มนี้กันก่อนดีกว่า พวกเขาเป็นใคร และแต่ละตัวอักษรมีที่มาที่ไปมาจากรากศัพท์คำไหน แต่ถึงจะต่างอักษรต่างความหมาย แต่สุดท้ายแล้ว LGBTQ+ คือกลุ่มคนที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความรักและความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่สำคัญกำลังเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมที่พวกเขาพึงจะได้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน

L (Lesbian)

เลสเบี้ยน คำนิยามของหญิงรักหญิงในทุกรูปแบบ ไม่มีการแบ่งแยกรูปแบบมากไปกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นความรักระหว่างผู้หญิงที่มีลักษณะห้าวดูแข็งแรงกับหญิงสาวทั่วไป หรือหญิงสาวกับหญิงสาว ก็ล้วนใช้คำบ่งบอกลักษณะว่าเลสเบี้ยนเหมือนกันทั้งสิ้น

G (Gay)

เกย์ กลุ่มชายรักชายที่ภาพลักษณ์ภายนอกยังบ่งบอกความเป็นชายอยู่ แต่มีรสนิยมที่ชอบผู้ชายเหมือนกัน โดยที่ยังพึงพอใจในเพศสภาพของตน ไม่ได้ต้องการอยากแปลงเพศเปลี่ยนไปเป็นผู้หญิง หรือต้องการแต่งตัวแบบผู้หญิง แต่อาจมีกริยาท่าทางอ่อนหวานบ้างในบางครั้ง

B (Bisexual)

ไบเซ็กชวล หรือเสือไบ คำฮิตในหมู่คนไทย นิยามถึงผู้ที่ชอบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นอีกเพศสภาพ ยืนหยัดและศรัทธาในความเป็นตัวเอง เพียงแต่ไม่ตีกรอบว่าต้องชอบแค่ผู้หญิงหรือผู้ชายเท่านั้น

T (Transgender)

ทรานส์เจนเดอร์ หรือกลุ่มชายข้ามเพศ หญิงข้ามเพศ กล่าวให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือ ผู้ที่ต้องการเป็นอีกเพศหนึ่งที่ต่างจากเพศสภาพเดิมของตน ผู้ชายที่อยากผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงที่ใจอยากเป็นชาย ก็สามารถผ่าตัดเปลี่ยนเพศสภาพเป็นชายในแบบที่ใจต้องการ เปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ใจและกายสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Q (Queer)

กลุ่มสุดท้ายที่ลบกรอบเรื่องเพศออกไปจนหมด และให้ความสำคัญกับความรู้สึกเป็นหลัก ไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวว่าผู้หญิงต้องคู่กับผู้ชาย หรือเกย์คู่เกย์ ทอมคู่กับดี้ ถ้าหากรู้สึกถูกใจชอบพอแล้ว เรื่องเพศไม่ใช่สาระสำคัญที่จะสร้างอุปสรรคให้กับความรักได้เลย

ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต สาระสำคัญที่ LGBTQ+ ควรรู้ เผยรูรั่วที่สร้าง Hot Issue บน Twitter

เหมือนกำลังจะกู่ร้องตะโกนแสดงความดีใจ แต่กลับต้องเอามือปิดปากไว้เสียก่อน เพราะร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ผ่านการเห็นชอบของ ครม. ยังแอบมีรูรั่วถึงความไม่เท่าเทียมในบางประเด็น จึงเกิดแฮชแท็ก “สมรสเท่าเทียม” บน Twitter ที่กลายเป็นประเด็นร้อนติดกระแส หลังร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาสู่สายตาประชาชนคนไทย และกลุ่มพี่น้อง LGBTQ+

โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีด้วยกัน 9 ข้อ ดังนี้

  1. “คู่ชีวิต” หมายถึง บุคคลเพศเดียวกันโดยกำเนิดสองคน ที่จดทะเบียนคู่ชีวิตถูกต้องตามพ.ร.บ.คู่ชีวิต
  2. กำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.คู่ชีวิต
  3. 3. ผู้ที่จะจดทะเบียนคู่ชีวิตได้นั้นต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และได้รับการยินยอมจากทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงมีสัญชาติไทย ทั้ง 2 ฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้
  4. กรณีผู้เยาว์ต้องบรรลุนิติภาวะก่อน และต้องได้รับความยินยอมในการจดทะเบียนสมรสคู่ชีวิตจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด พ่อแม่บุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล
  5. คู่ชีวิตที่จดทะเบียนคู่ชีวิตร่วมกันแล้ว มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย รวมถึงมีอำนาจในการดำเนินคดีต่าง ๆ ของผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  6. 6. ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต ให้แบ่งเป็นสินส่วนตัว และสินทรัพย์ร่วมกัน ตามบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต
  7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมถึงสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกับคู่ชีวิตอีกฝ่ายได้ ในกรณีที่คู่ชีวิตอีกฝ่ายมีบุตรบุญธรรมเดิมอยู่แล้ว
  8. กรณีคู่ชีวิตเสียชีวิตลง ให้คู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับคู่สมรสตามบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
  9. ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัว และบุตรบุญธรรม (มาตรา 1606, 1652, 1563) มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตได้โดยอนุโลม

จากสาระสำคัญทั้ง 9 ข้อนี้ หากไม่พิจารณาอย่างถี่ถ้วน หรือพิจารณาจากผู้รู้กฎหมายก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี หากเพียงแต่ยังมีคำระบุเพศ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในภายภาคหน้า อาทิ คำว่าสามีและภรรยาในประมวลกฎหมายแพ่งฯ ควรเปลี่ยนเป็นคำกลาง ๆ อย่างคู่สมรส เพื่อให้ครอบคลุมกับทุกเพศ หรือในกรณีสมรสเห็นควรให้ปรับคำว่าชาย และหญิงของเป็นคำว่า “บุคคล” แทน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว

จนถึงวันนี้เราทุกคนต่างเฝ้ารอให้ถึงวันที่ช่องว่างระหว่างเพศจะถูกอุดรูรั่วและรอยร้าวนี้ลงเสียที อย่าลืมว่าเพศไม่ได้เป็นสิ่งกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างของแต่ละบุคคล จะหญิงจะชาย หรือจะ LGBTQ+ ทุกคนล้วนมีคุณค่าและความดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น จงมองความรักในทุกรูปแบบอย่างชื่นชม และมีความสุขไปกับความสวยงามของความรัก ไม่มีสิ่งใดจะทำให้โลกสงบสุขได้เท่ากับการรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน ลดช่องว่างของสูงดำต่ำขาว หญิงชายกระเทยเกย์ เศรษฐีพันล้านหรือยาจกข้างถนน ร่วมกันสร้างโลกเสมอภาคที่ทุกคนเท่าเทียมกัน

Credit : https://pixabay.com

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ


Spread the love