Spread the love

1 min read

ทักษะศิลป์ ที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นงานรับเขียนบทความ

งานเขียน เปรียบเหมือนศิลปะการใช้ภาษาและเรียงร้อยถ้อยคำ เพื่อสื่อสารออกไปให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมตามจุดมุ่งหมายในการเขียน ดังนั้นงานรับเขียนบทความ นอกจากผู้เขียนจะต้องเรียนรู้ทักษะการเขียน การวางโครงเรื่องแล้ว ทักษะทางอารมณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้งานเขียนนั้นประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

เมื่องานเขียนถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ เพื่อยังประโยชน์ต่อธุรกิจที่ลงมาแข่งขันกันในตลาดนี้ ทำให้งานรับเขียนบทความได้รับความนิยมตามไปด้วยเช่นกัน การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ด้านการเขียนจึงมีความสำคัญมากเพื่อให้งานเขียนออกมาตอบโจทย์ของธุรกิจ รวมถึงผู้คนบนโลกออนไลน์ได้มากที่สุด

การเขียนบทความเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดออนไลน์

เมื่อการเขียนบทความถูกใช้แพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  1. ใช้งานเขียนเพื่อแชร์ประสบการณ์ของชีวิตส่วนตัว
  2. ใช้เพื่อช่วยแชร์ความรู้และเรื่องที่ตนสนใจ
  3. ใช้เพื่อช่วยทำอันดับบน Google
  4. ใช้เพื่อโปรโมทแนะนำสินค้า
  5. ใช้เพื่อสร้างรายได้บนโลกออนไลน์

ดังนั้นการรับเขียนบทความในแต่ละครั้งจึงต้องแยกจุดประสงค์ของการสื่อสารออกให้ชัดเจน เพื่อจัดอารมณ์ร่วมในนำเสนองานผ่านการเขียนให้ประสบความสำเร็จ คือ ดึงดูดผู้อ่าน นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเพื่อส่งผลต่อธุรกิจ เช่น ทำให้มีคนติดตามธุรกิจ แบรนด์สินค้าเป็นที่รู้จักมายิ่งขึ้น ก่อเกิดความเชื่อใจไว้ใจ และตัดสินใจร่วมธุรกิจหรือสั่งซื้อสินค้าได้

แนวทางการรับเขียนบทความให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรต่อ SEO

  1. กำหนดเป้าหมายของงานเขียน หรือวัตถุประสงค์ของการเขียน
  • เขียนทำไม
  • เขียนเพื่ออะไร
  • ประเด็นที่อยากนำเสนอคืออะไร
  1. ค้นหาข้อมูลก่อนลงมือทำ ถือเป็นหัวใจหลักสำหรับนักเขียนเลยก็ว่าได้ การรวบรวมข้อมูลตามหัวข้อที่จะเขียนทำให้รู้ความต้องการของตลาดและส่งผลต่อการพัฒนางานเขียนของเราให้มีคุณภาพเทียบเท่าหรือยิ่งกว่าบนความ อื่น ๆ ที่โลดแล่นบนโลกออนไลน์มาก่อน
  2. ตั้งชื่อโพสให้สะดุดตา ส่วนสำคัญที่จะช่วยหยุดนิ้วของผู้พบเห็นและคลิกเข้ามาอ่านบทความของเรา การค้นหาข้อมูลล่วงหน้าก็สามารถช่วยให้เราได้ keyword ยอดนิยมเพื่อนำมาสร้างคำ เล่นคำ ให้ชื่อเรื่องของบทความสะดุดตาและนำสู่การมีส่วนร่วมของผู้อ่านได้
  3. กำหนดเค้าโครงของบทความ เป็นส่วนที่ช่วยลดระยะเวลาในการเขียนบทความลงได้ตลอดจนทำให้บทความนั้นมีเอกภพ ผู้เขียนไม่หลงประเด็น เขียนวกวน และยังช่วยให้ง่ายต่อการอ่านอีกด้วย
  4. รู้จักเขียนบทแนะนำ หรือ Post Intro การฉลาดที่จะเขียนบทแนะนำโดยการใส่ keyword ยอดนิยมลงไปด้วย จะยิ่งส่งผลให้บทความมีลำดับที่ดี ค้นหาได้ง่าย
  5. เขียนบทความยาว ดีกว่าสั้น เพราะบทความยาวมีแนวโน้มที่จะถูกจัดอันดับบน Google ได้มากกว่านั่นเอง แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือคุณค่าของเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับคำค้นหามากเพียงใด
  6. เรียนรู้ ระบบ SEO ถ้าอยากให้งานเขียนเป็นมิตรกับ Google

สรุป

ทักษะการเขียนบทความ ถือว่าเป็นหัวใจของกการทำตลาดออนไลน์ และการรับเขียนบทความให้ตรงใจผู้จ้าง โดนใจผู้อ่านและถูกใจ Google จึงจำเป็น ซึ่งหากสามารถสร้างบทความที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ย่อมทำให้คุณกลายเป็นนักเขียนมืออาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานรับเขียนบทความอย่างแน่นอน

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ ติดต่อตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ


Spread the love