Spread the love

1 min read

ครีเอทงานเขียนให้เป็นงานขาย 5 เทคนิคเขียนบทความขายสร้างเงินได้ใน 24 ชั่วโมง

การเปิดธุรกิจบนโลกออนไลน์นั้น หากหน้าเว็บเพจ เปรียบเสมือนหน้าร้าน คอนเทนต์บนเว็บเพจก็จะเปรียบได้กับพนักงานขายของนั่นเอง คอนเทนต์ดี บทความคุณภาพเป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน สร้างการติดตาม ขยายฐานลูกค้าจากการแชร์ต่อ ๆ คนรู้จักหน้าร้าน รู้จักแบรนด์เพิ่มมากขึ้น ถือว่าบทความนั้น ๆ เป็นพนักงานขายดีเด่นเลยทีเดียว ส่งผลให้งานรับเขียนบทความแพร่หลายและเป็นที่ต้องการของตลาดงานเพิ่มมากขึ้น

แล้วจะครีเอทงานเขียนยังไงล่ะ ให้เจ้าของร้านเขาจ้างให้เป็นพนักงานขายในร้านเขา หากคุณเป็นนักเขียนมือใหม่ ที่คิดจะรับเขียนบทความออนไลน์แล้วล่ะก็ คุณไม่ควรพลาดที่จะลองอ่านเทคนิคการสร้างงานเขียนในบทความนี้ ที่จะสร้างรายได้จากงานเขียนบทความออนไลน์ได้

3 ขั้นตอนในการสร้างงานขาย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย ๆ

1. ลองเขียนบทความตัวอย่างขึ้นมาก่อน ในเรื่องที่ถนัดและชอบ ส่งให้ลูกค้าดูเพื่อให้ลูกค้าเห็นแนวการเขียน สำนวนภาษา หลักการจัดวางโครงร่างบทความ และรวมถึงความรู้ด้านการทำ SEO ซึ่งมือใหม่หัดเขียนไม่ควรพลาดที่จะศึกษาไว้ในยุคนี้

2.จัดทำข้อมูลตัวอย่างให้เรียบร้อยเพื่อนำเสนอผลงาน ให้ดูง่ายและตรงตามความต้องการของผู้จ้าง โดยอาจเรียงประเด็นดังนี้เป็นแนวทาง

  • ชื่อเรื่อง
  • ชื่อบทความ
  • จำนวนคำไทยรวม
  • จำนวนความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด

3.เสนองานตามกลุ่มที่เปิดรับสมัครนักเขียน โดยสามารถมองหากลุ่มลูกค้าของคุณได้อย่างมากมายบนโลกออนไลน์

เพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณได้ชิมลางการเป็นนักเขียนบทความออนไลน์ได้แล้ว แต่ทั้งนี้มันก็ขึ้นอยู่กับบทความของคุณจะมีคุณภาพและสามารถดึงดูดผู้ว่าจ้างได้ขนาดไหนนั้นเอง และก่อนที่จะได้รับงานเขียนบทความ มาดูกันว่าบทความตัวอย่างของเราสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่ผู้ว่าจ้างเห็นในบทความได้หรือไหมกัน

สิ่งที่ผู้ว่าจ้างอยากเห็นในบทความตัวอย่าง

  • สำนวนภาษาที่สละสลวย
  • การจัดหน้าโครงร่างบทความที่สวยงาม อ่านง่าย
  • Keyword สำคัญตามหลักการ SEO ที่ถูกต้อองและเหมาะสม

การสร้างสรรค์งานเขียนที่ดี มีคุณภาพ เปรียบเสมือนการเปิดประตูสู่อาชีพรับเขียนบทความได้แล้ว  ทั้งนี้ยังคงต้องคำนึงถึงความถนัดในเรื่องราวที่จะเขียนเพื่อให้เกิดความสุขในการเขียนไปด้วย

วิธีการเขียนบทความตัวอย่าง

  1. เลือกหมวดหัวข้อที่เป็นที่นิยม อย่างเช่น หมวดธุรกิจออนไลน์ หมวดสุขภาพความงาม หมวดเครื่องสำอาง เป็นต้น แต่เราก็ควรจะถนัดและมีความรู้ในด้านนั้น ๆ ด้วยนะ
  2. เขียนตัวอย่างออกมาสัก 2-3 บทความให้มีจำนวนคำที่ต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจของผู้จ้างให้รับงานเขียนบทความไปทำได้
  3. อย่านำบทความเก่า ๆ ของลูกค้าคนอื่นมาเสนอเป็นตัวอย่าง เพราะคุณไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าธุรกิจแต่ละตัวมุ่งประเด็นการแข่งขันกันด้านใดบ้าง การนำงานที่เคยรับเขียนบทความมาแล้วอาจกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง และอาจทำให้เกิดความไม่สบายใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้

สรุป

บทสรุปสุดท้าย ขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วล่ะเมื่อสนใจและรักงานเขียน ลองเดินเข้ามาทดสอบความสามารถกันในตลาดงานรับเขียนบทความดูกันไหม เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่คุณคิด และศึกษาอยู่ในตอนนี้จะทำให้คุณก้าวสู่อาชีพนักเขียนคุณภาพได้อย่างไม่อยากเลย อยู่ที่ตัวคุณแล้วล่ะว่าทำหรือไม่

ต้องการมืออาชีพช่วยเขียนบทความ? บริการเขียนบทความ คุณภาพสูง เน้นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและบริการของคุณ!

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วย บทความ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับการค้นหาของเว็บไซต์ของคุณ

ติดต่อเราตอนนี้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณ!


Spread the love